日本(冬)

日本(冬)

มารู้จักคำช่วยในภาษาญี่ปุ่น 2

ารู้จักคำช่วยในภาษาญี่ปุ่น 2

ก่อนหน้านี้ได้มีการอธิบายความหมายและบทบาทหน้าที่ของคำช่วยไปบ้างแล้ว วันนี้จะมาจะมาอธิบายต่อโดยเลือกคำช่วยที่สำคัญๆ ใช้บ่อยๆ มาอธิบายเพิ่มเติมให้ค่ะ


เริ่มจากคำช่วย wa (วะ) ซึ่งเคยอธิบายไปคร่าวๆ แล้ว วันนี้จะมาอธิบายเพิ่มเติมให้ค่ะ

  • คำช่วย は wa  (วะ) 
คำนี้จริงๆ แล้วจากตัวเขียนต้องอ่านว่า ฮะ แต่ในกรณีที่ทำหน้าที่เป็นคำช่วยเราจะอ่านว่า วะ  คำช่วย wa (วะ) เป็นคำช่วยที่มีการใช้บ่อยมากในภาษาญี่ปุ่น มีหน้าที่แสดงว่าคำข้างหน้าเป็นหัวเรื่องหรือประธานของประโยค ในประโยคญี่ปุ่นจะมีส่วนที่บอกหัวเรื่องส่วนอธิบาย เราลองมาดูตัวอย่างประโยคกันค่ะ

ประโยค
หัวเรื่อง/ประธาน
ส่วนอธิบาย
เขาเป็นนักร้อง
เขา
เป็นนักร้อง
คุณนากามุระสอนภาษาญี่ปุ่น
คุณนากามุระ
สอนภาษาญี่ปุ่น
ฉันดื่มน้ำส้ม
ฉัน
ดื่มน้ำส้ม


แต่ในกรณีที่ประโยคที่มีความซับซ้อนบางทีหัวเรื่องอาจจะไม่ใช่ประธานของประโยคก็ได้  เช่น

ประโยค
หัวเรื่อง
ประธาน
ส่วนอธิบาย
วันนี้งานของฉันยุ่งมาก
วันนี้
งานของฉัน
ยุ่งมาก
ผู้หญิงคนนั้น เธอเป็นดารา
ผู้หญิงคนนั้น
เธอ
เป็นดารา


ตัวอย่างประโยค

เขาเป็นนักร้อง >> เขา เป็นประธาน

(かれ)歌手(かしゅ)です。

Kare wa kashu desu.

คะเระ วะ คะชุ เดส

คำศัพท์ :    kare = เขา (ผู้ชาย)            
              歌手  kashu = นักร้อง

 
วันนี้งานของฉันยุ่งมาก>> วันนี้ เป็นหัวเรื่อง
今日(きょう)(わたし)仕事(しごと)がとても(いそが)しいです。

Kyou wa watashi no shigoto ga totemo isogashii desu.

เคียว วะ วะตะชิ โนะ ชิโกะโตะ งะ โทะเทะโมะ อิโซะกะซี่ เดส

คำศัพท์ : 今日 kyou   = วันนี้                            
                 仕事  shigoto = งาน,ทำงาน         
                 とても totemo = มาก
                 忙しい isogashii  = ยุ่ง
 


ต่อมาเรามาทำความรู้จักคำช่วย を O (โอะ) กันอีกครั้งนะคะ

  • คำช่วย O (โอะ)

คำช่วย を O (โอะ) มีหน้าที่ใช้บอกว่าคำที่อยู่หน้าเป็นกรรม มาดูตัวอย่างประโยคกันค่ะ

     อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน >> หนังสือพิมพ์ เป็น กรรม


毎日(まいにち)、新聞(しんぶん)()む。
mainichi shinbun o yomu
มัยนิจิ ชิมบุง โอะ โยะมุ

คำศัพท์ : 毎日 mainichi = ทุกวัน
               新聞 shinbun = หนังสือพิมพ์
               yomu     = อ่าน


คำช่วยเพิ่มเติมที่จะอธิบายถัดมาก็คือ คำช่วย ga (งะ)

  • คำช่วย が ga (งะ)

เป็นคำช่วยอีกตัวที่มีการใช้งานบ่อยและมีหน้าที่หลากหลายมาก หน้าที่แรก คือ ใช้บอกคำข้างหน้าว่าเป็นประธานของประโยค



ฉันอ่านหนังสือ >> ฉัน เป็นประธานของประโยค
(わたし)(ほん)()みます
Watashi ga hon o yomimasu
วะตะชิ งะ ฮง โอะ โยะมิมัส

คำศัพท์ :  hon = หนังสือ
 

หน้าที่ที่สอง (งะ) จะใช้ร่วมกับกริยาหรือคุณศัพท์บางตัว เพื่อใช้อธิบายลักษณะ รูปร่างหน้าตา ความรู้สึกอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งคำกริยาและคำคุณศัพท์ต้องใช้คำช่วย (งะ) เท่านั้น ซึ่งจะต้องอาศัยความจำ มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ


あります
arimasu
อะริมัส
มี ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต
います
imasu
อิมัส
มี ใช้กับสิ่งมีชีวิต
わかります
wakarimasu
วะกะริมัส
เข้าใจ
すきです
suki desu
ซุกิ เดส
ชอบ
きらいです
kirai desu
คิไร เดส
เกลียด
じょうずです
jouzu desu
โจซุ เดส
เก่ง
へたです
heta desu
เฮะตะ เดส
ไม่เก่ง
ほしいです
hoshii desu
โฮะชี เดส
อยากได้



ข้อสังเกต ถ้าเห็นคำอ่านตัวอักษรโรมะจิตรงคำลงท้าย คำว่า desu เดะซุ และ masu มะซุ คนญี่ปุ่นมักจะออกเสียงรวบเป็น เดส กับ มัส แต่ก็มีบางครั้งที่ออกเสียงเดะซุ / มะซุ ก็มีค่ะ

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างประโยคกันดีกวาจะได้เข้าใจมากขึ้น


ชอบอาหารไทย >> ใช้ร่วมกับคำว่า suki desu
タイ料理すきです
Thai ryouri ga suki desu


ไทย เรียวริ งะ ซุกิ เดส

คำศัพท์ : タイ料理 Thai ryouri = อาหารไทย
 
ต่อไปเรามาดูหน้าที่สามของคำช่วย ga (งะ) กันต่อค่ะ

หน้าที่นี้เป็นการใช้บ่งชี้คำนาม ที่จะมีคุณศัพท์ขยายดูด้านหลัง เช่น อากาศดี (อากาศเป็นคำนาม ส่วน ดี เป็นคุณศัพท์ที่ขยายอากาศ) เราใช้คำช่วย (งะ) บ่งชี้ตามหลังคำว่าอากาศ  


อากาศดี >> มีคำคุณศัพท์อยู่ด้านหลัง ii ดี
天気(てんき)()いです。 
tennki ga ii desu

เทงคิ งะ อี่ เดส

คำศัพท์ : 天気 tenki = อากาศ
              良い ii  = ดี
และหน้าที่ที่สี่ คือ เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน ซึ่งมีความหมายว่า แต่  ยกตัวอย่างเช่น
ฉันอยากไปเที่ยวแต่ไม่มีเงิน 
>> ฉัน+คำช่วย(ชี้หัวเรื่อง) +อยากเที่ยว+คำช่วย(แต่)+เงิน+คำช่วย(ชี้กรรม) +ไม่มี
(わたし)旅行(りょこう)()きたいです、お(かね)がありません。

Watashi wa ryokou ni ikitai desu ga okane ga arimasen.

วะตะชิ วะ เรียะโค นิ อิคิไต เดส งะ โอะคะเนะ งะ อะริมะเซ็ง
 
วันนี้แค่นี้ก่อนนะคะ แล้วมาต่อกันคราวหน้าค่ะ....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น