日本(冬)

日本(冬)

TPM คืออะไร?

TPM คืออะไรกันนะ??

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม : 
Total Productive Maintenance คือ หลักการหรือเครื่องมือบริหารการผลิต ขึ้นอยู่กับลักษณะและขอบเขตของการนำไปใช้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ขององค์กร หรือ Company Performance ที่แสดงออกมาในรูปของ
คุณภาพของสินค้า (Product Quality) 
การลดและควบคุมต้นทุน (Cost Reduction & Control) 
การส่งมอบที่ตรงเวลา (On Time Delivery) 
การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย(Safety and Environment)
หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก
ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM
แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง
เสาหลัก 8 ประการ (8 Pillars) ของ TPM ประกอบด้วย 
  1. การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง หรือ Individual Improvement 
  2. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance 
  3. การบำรุงรักษาตามแผน หรือ Planned Maintenance 
  4. การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา หรือ Operation and Maintenance Skill Development 
  5. การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ หรือ Initial Phase Management 
  6. การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ หรือ Quality Maintenance 
  7. การดำเนินการ TPM ในส่วนสำนักงานหรือส่วนสนับสนุน หรือ TPM in Office 
  8. ระบบชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรือ Safety, Hygiene and Working Environment

การดำเนินการ TPM บางครั้งต้องมีกิจกรรมอื่นควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเพิ่มศักยภาพ เช่น การดำเนินกิจกรรม 5ส หรือ 5s Activity การนำระบบการควบคุมด้วยการมองเห็นหรือ Visual Control การติดตั้งระบบป้องกันความผิดพลาด หรือ Pokayoke แม้กระทั่งการนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ IE Technique มาใช้ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดความสูญเสีย (waste) ในกระบวนการผลิตหรือการบริหารการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย หรือ Waste-free Production ได้อีกทางหนึ่ง
เป้าหมายของการทำกิจกรรม TPM ก็คือ
  • เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต 
  • เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน
  • เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง
  • เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น
  • เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม 
Total Productive Maintenance (TPM)
総合的設備保全   
sougoutekisetsubihozen  
โซโกเทะคิเซะสึบิโฮะเซ็น

กิจกรรม TPM      
TPM活動    
TPM-katsudou    
TPMคะสึโด

การบำรุงรักษา (Maintenance) 
保全    
hozen  
โฮะเซ็น

การตรวจสอบแต่ละจุด,การตรวจเช็คอย่างละเอียด
点検     
tenken  
เท็งเค็ง

การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง หรือ Individual Improvement 
個別改善  
kobetsukaizen  
โคะเบะสึคัยเซ็น

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance 
自主保全  
jishuhozen  
จิชุโฮะเซ็น

การบำรุงรักษาตามแผน หรือ Planned Maintenance   
計画保全 
keikakuhozen  
เคคะคุโฮะเซ็น 

การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา หรือ 
Operation and Maintenance Skill Development 
教育訓練  
kyouikukunren 
เคียวอิขุคุงเร็ง

การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ 
หรือ Initial Phase Management 
初期管理 
shokikanri  
โชะคิคังริ

การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ หรือ Quality Maintenance
品質保全  
hinshitsuhozen  
ฮิงชิสึโฮะเซ็น

การดำเนินการ TPM ในส่วนสำนักงานหรือส่วนสนับสนุน 
หรือ TPM in Office
管理間接部門TPM   
kanri-kansetsubumon no TPM     
คังริ-คังเซะสึบุโมง โนะ TPM

ความปลอดภัย ระบบชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม หรือ 
Safety, Hygiene and Working Environment
安全衛生環境   
anzen-eisei-kankyou  
อันเซ็น-เอเซ-คังเคียว

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม