日本(冬)

日本(冬)

กล่าวอวยพรเมื่อต้องร่ำลาจากกัน

ประโยคอวยพรเล็กๆ เมื่อต้องร่ำลาจากกัน


ก่อนหน้าที่เคยเขียนบทความเกี่ยวกับประโยคการกล่าวลาไปแล้ว วันนี้จะมาเพิ่มเติมการกล่าวอวยพรเล็กๆ น้อย ๆ ก่อนที่จะลาจากกัน  คนที่ทำงานกับคนญี่ปุ่นน่าจะมีโอกาสได้ใช้แน่นอน เพราะบางทีมี Supporter มาจากญี่ปุ่นมาทำงานหรืออบรมช่วงเวลาสั้นๆ เราสามารถนำประโยคเหล่านี้ไปใช้ได้เลย ล่ามหนูดีเองก็มีโอกาสได้ใช้บ่อยๆ เพราะต้องไปส่งคนญี่ปุ่นขึ้นเดินทางไปสนามบินบ่อยๆ เราเรียกการไปส่งแบบนี้ 見送る(みおくる)Miokuru มิโอะคุรุ ประโยคอวยพรเมื่อต้องลาจากมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ



สามารถติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางที่ Youtube ช่อง Home-made Smile Video 


ชอบประโยคไหนก็เลือกเอาไปใช้พูดกันนะจ๊ะ....

การแนะนำตัว (自己紹介 จิโคะโชคัย)



การแนะนำตัว 自己紹介(じこしょうかい)  jikoshoukai  จิโคะโชคัย


บทที่แล้วได้แนะนำประโยค "Yoroshiku Onegai shimasu โยะโระชิขุ โอเนไงชิมัส" กันไปแล้ว วันนี้มาดูกันว่าประโยคนี้ใช้ในการแนะนำตัวเองอย่างไร 

การแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จำเป็นในสังคม จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นจะพกนามบัตรติดตัวเสมอ พร้อมที่จะแลกนามบัตรแนะนำตัวกันตลอดเวลา  โดยเฉพาะโลกทางธุรกิจ....ดังนั้น การแนะนำตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเรียนรู้ หลังจากที่เราได้กล่าวทักทายสวัสดีกันไปแล้ว เราไปดูตัวอย่างประโยคแนะนำตัวกันเลยดีกว่า


เมื่อเจอกันเป็นครั้งแรก ตามธรรมชาติแล้วเราจะพูดว่า ยินดีที่ได้รู้จัก แล้วก็บอกชื่อเสียงเรียงนามของเรา ดังนี้ค่ะ


ยินดีที่ได้รู้จัก ผม/ ดิฉัน ชื่อ......

(はじ)めまして、+ ชื่อ + です。

Hajime mashite + ชื่อ + desu.

ฮะจิเมะ มะชิเตะ + ชื่อ + เดส



ข้อควรรู้  : การแนะนำตัวเองของคนญี่ปุ่น มักจะละสรรพนาม ผม ฉัน เรา ฯลฯ ไว้ เป็นอันรู้กัน และไม่นิยมแนะนำตัวเองโดยใช้ขื่อตัวเอง แต่จะใช้ชื่อนามสกุลเท่านั้น จากที่เคยเขียนไว้ในบทก่อนๆ ว่าคนญี่ปุ่นจะเรียกชื่อนามสกุล จะไม่เรียกชื่อจริงนอกจากสนิทสนมกันมากจริงๆ เท่านั้น


ประโยคต่อมาที่คนญี่ปุ่นนิยมพูดในการแสดงความรู้จัก หลังจากที่แนะนำชื่อกันไปแล้ว ก็คือ ประโยคที่ว่า ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/ค่ะ  มีวิธีการพูดอย่างไรบ้างไปดูกันค่ะ


สามารถติดตามได้ที่  Home-made Smile Video ได้ค่ะ




 อย่าลืมลองนำไปใช้เวลาที่ต้องแนะนำตัวกับคนญี่ปุ่นกันนะคะ...


โยะโระชิขุ โอเนไงชิมัส ใช้บ่อยจังเบย...


よろしくお(ねが)いします。Yoroshiku onegaishimasu  โยะโระชิขุ โอเนไงชิมัส 

ทำไมใช้บ่อยจัง??


คนที่ทำงานกับคนญี่ปุ่นจะได้ยินคำนี้บ่อยมาก เค้าใช้ในโอกาสไหนบ้างเคยงงกันบ้างไหม??  เราไปทำความรู้จักประโยคนี้กันดีกว่าค่ะ..

ในภาษาญี่ปุ่น มีคำทักทายในโอกาสต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่มีในภาษาไทย เช่น คำว่า

よろしくお(ねが)いします。Yoroshiku onegaishimasu “โยะโระชิขุ โอเนไงชิมัส ซึ่งเป็นประโยคที่พูดกันเมื่อได้พบใครเป็นครั้งแรก มีการแนะนำตัวหลังจากที่แลกนามบัตรกันแล้ว คนญี่ปุ่นก็จะพูดประโยคนี้ เพื่อฝากเนื้อฝากตัวในความหมายว่า ต่อไปนี้ขอให้เรามทำงาน (ธุรกิจ) ด้วยกันนะครับ

นอกจากนี้ เมื่อจะขอให้ใครช่วยทำอะไรให้ก็จะต้องพูดประโยคนี้เช่นกัน เพื่อเน้นย้ำให้เขาช่วยเหลือ แต่บางครั้งอาจมีคนใช้คำว่า よろしく!!Yoroshiku “โยะโระชิขุ ในความหมายที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก เพราะเขาอาจจะพูดสั้นๆ โดยไม่ได้บอกว่าจะให้ช่วยเรื่องอะไร ผู้ฟังโดยเฉพาะอย่างยิ่งล่ามจึงต้องคาดเดาจากเนื้อหาของการสนทนาที่กำลังเจรจากันอยู่ว่า เขาหมายถึงอะไร เช่น ขอให้พิจารณา หรือให้ความร่วมมือ หรือติดตามเรื่อง หรือคบหาสมาคม เป็นต้น   



คำนี้จำไว้ได้ใช้แน่นอนค่ะ


หลักการ 3 GEN ของญี่ปุ่น ( อย่าเชื่อใครง่ายๆ ถ้าไม่เห็นกับตา)

3 GEN คืออะไร??    

     จากที่ได้เรียนรู้หลักการทำงานของญี่ปุ่นไปบ้างแล้ว วันนี้ขอเพิ่มเติมหลักการทำงานของญี่ปุ่นอีกสักเรื่องหนึ่งเรื่องแล้วกัน หลักการนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริงล้วนๆๆ เพราะคนญี่ปุ่นมักจะพูดว่า  อย่าเชื่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์มากนัก ให้ไปดูหน้างานด้วยจะได้เข้าใจ ถ้ามัวนั่งเทียนอยู่กับโต๊ะแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นเป็นความจริงหรือเปล่า อย่าเชื่อใครง่ายๆ ถ้าไม่เห็นกับตา
 
วันนี้ก็เลยอยากจะนำหลักการทำงานที่เกี่ยวกับคำพูดข้างต้นมาเสนอ คือ หลักการ "3 GEN" ซังเก็ง... มาจากคำภาษาญี่ปุ่น 3 คำ ได้แก่  
現場(げんば)    GENBA (เก็มบะ)
現物(げんぶつ)  GENBUTSU (เก็มบุสึ) 
現実(げんじつ) GENJITSU (เก็นจิสึ)
 
ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน แต่ละคำมีความหมายอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย...
現場 GENBA (เก็มบะ) คือ สถานที่จริง
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราต้องเข้าไปตรวจดูสถานที่เกิดเหตุจริงด้วยตัวของเราเอง ถึงแม้ว่าจะมีคนอธิบายหรือรายงานให้เราฟังแล้วก็ตาม เราควรเข้าไปดูให้เห็นกับตา

現物 GENBUTSU (เก็มบุสึ) คือ ชิ้นงานจริง
เราต้องเข้าไปดูชิ้นงานที่เกิดความเสียหายด้วยตาของเราเอง ถึงแม้ว่าเราจะรู้จักปัญหานี้เป็นอย่างดีก็ตาม เพราะอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งอาจจะแตกต่างจากที่เราเคยเห็นมาก่อนก็ได้

現実 GENJITSU (เก็นจิสึ) คือ ข้อเท็จจริง
เราต้องเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นจริง โดยดูข้อมูลรอบด้านที่เกี่ยวข้องอย่างรอบครอบด้วยตัวของเราเอง ถึงแม้ว่าจะมีคนรวบรวมข้อมูลมาให้เราบ้างแล้วก็ตาม เนืองจากบางครั้งข้อมูลที่ได้มาอาจจะไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงได้ หรือข้อมูลอาจจะมีผิดพลาดก็ได้





ดังนั้นหลักการ "3 GEN" จึงมีความสำคัญในการนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของเรา จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูลต่างๆ ได้มีความชัดเจนและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น จนทำให้ปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีและตรงจุด  เวลาที่มีปัญหาล่ามหนูดีจะโดนคนญี่ปุ่นลากไป "GENBA เก็มบะ" เพื่อไปพิสูจน์หลักฐานเป็นประจำ....
..(T-T)..


 
ยังไงก็อย่าลืมเอาหลักการนี้ไปใช้กับการทำงานกันนะจ๊ะ





มารู้จัก 3 MU กันเถอะ...

3 MU คืออะไร??

ในครั้งก่อนจากที่เคยอธิบายคำว่า KAIZEN ไคเซ็น ไปแล้ววันนี้ขอนำเสนอเรื่อง 3 MU เพราะสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกัน แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?? คนที่ไม่เคยทำกิจกรรม KAIZEN ก็คงจะงงงวยกันอยู่ แต่คนที่ทำกิจกรรมนี้บ่อยคงจะเคยชินกับ 3 คำนี้แน่นอน เราไปดูความหมายกันก่อนดีกว่าค่ะ

คำว่า MU เอามาจากคำแรกของภาษาญี่ปุ่น ได้แก่

ムダ MUDA มุดะ   =  ความสูญเปล่า
ムラ   MURA มุระ   =   ความไม่สม่ำเสมอ
ムリ   MURI  มุริ     =   การฝืนทำ,เกินกำลัง


ถ้า 3 สิ่งนี้ แทรกตัวอยู่ในการปฏิบัติงานจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างปัญหาในการทำงาน เราจึงต้องทำการกำจัด 3 MU นี้ออกไป ตรงจุดนี้เองที่เชื่อมโยงกับกิจกรรม KAIZEN

จากประสบการณ์การเป็นล่ามจะได้แปลคำว่า MUDA มุดะ บ่อยมาก ถ้ามองกันจริงๆ แล้ว  MUDA มุดะ ความสูญเปล่า เป็นผลกระทบที่เกิดจาก MURA ความไม่สม่ำเสมอ และ  MURI การฝืนทำ/เกินกำลัง ซึ่งจะเห็นบ่อยครั้งในการปฏิบัติงาน ถ้าเราไม่ควบคุม ตรวจสอบ ปรับปรุงให้ดีขึ้น เราก็จะไม่สามารถกำจัดทั้ง 3 MU นี้ได้ พอจะเข้าใจกันไหมเอ่ย

ยังไงก็ขอให้ทุกคนที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นสนุกกับการทำกิจกรรม KAIZEN เพื่อกำจัด 3 MU กันนะจ๊ะ....