日本(冬)

日本(冬)

POKAYOKE คืออะไร??

POKAYOKE  ???

     สืบเนื่องจากได้เข้าไปแปลรายงานปัญหาการจัดส่งวัตถุดิบเข้าไปในไลน์การผลิตผิดพลาด จึงมีการพูดถึงโพะกะโยะเกะ ขึ้นมา วันนี้ก็เลยหยิบยกคำนี้มาอธิบายเผื่อใครยังไม่รู้จักจะได้ทำความรู้จักไปพร้อมกันค่ะ

ポカヨケ POKAYOKE โพะกะโยะเกะ  :  อุปกรณ์ป้องกันความผิดพลาด

       สำหรับคำนี้คงจะได้ยินกันบ่อยจนคุ้นหูกันเลยทีเดียว คำนี้มักจะเขียนด้วยตัวอักษรคาตาคะนะ ในสมัยที่เริ่มทำงานใหม่ๆ ยังเป็นเป็นล่ามเด็กน้อยไร้ประสบการณ์ ยังไม่รู้เรื่องอะไร และที่สำคัญไม่เคยรู้จักคำนี้มาก่อน สมัยเรียนก็ไม่มีสอนเสียด้วย คนญี่ปุ่นพูดออกมาถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก มันคืออิหยังล่ะเนี่ย??? แต่โชคดีที่บริษัทส่วนใหญ่ก็พูดทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นกันเลย พอพูดคำว่าโพะกะโยะเกะปุ๊บ พี่ๆน้องๆพนักงานก็จะเข้าใจกันทันที มีแต่ล่ามเด็กน้อยนี้แหละที่ไม่เข้าใจ นึกถึงวันวานก็อดขำตัวเองไม่ได้555 ตอนนั้นพี่ๆพนักงานก็เลยช่วยอธิบายให้ว่ามันคืออะไร พูดง่ายๆก็คือมันเป็นอุปกรณ์กันโง่นั่นเอง ซึ่งอาจจะดูแรงหรือไม่สุภาพเอาเสียเลย แล้วอุปกรณ์มีหน้าที่อะไร??มีความหมายอย่างไร??เราไปทำความรู้มันให้มากกว่านี้กันดีกว่าค่ะ
**ปล.คนไทยมักออกเสียงว่า "โปกาโยเกะ"


POKAYOKE เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกติดตั้งขึ้นมาขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของการทำงานโดยเฉพาะในสายการผลิตจะมีการติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์เพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น การติดตั้งเซ็นเซอร์ลำดับการหยิบชิ้นงานในกระบวนการประกอบ ถ้าหยิบผิดลำดับหรือลืมหยิบเครื่องก็จะไม่ทำงาน เป็นต้น เพราะในหลายๆ โรงงานไม่สามารถทำระบบอัติโนมัติไม่ได้ยังคงใช้คนทำงานเสียส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการทำงานก็มีมากเช่นกัน ซึ่งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็จะก่อให้เกิดของเสียหรือที่เราเรียกว่างาน NG เชื่อมโยงไปสู่ปัญหาคุณภาพตามมาเสียส่วนใหญ่ หรือเมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป(Finish Goods)แล้ว เมื่อมารู้ทีหลังก็ต้องมานั่งค้นหาและการเลือกของเสียออกจากของดีหรือที่เราคุ้นเคยกันดีกับภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Sorting ก็จะใช้เวลามากเพื่อทำการคัดแยกรวมถึงค่าใช้จ่ายก็จะตามมาด้วย หรือการค้นหาของไม่ดีที่เกิดขึ้นนั้นมีความยากลำบากและอาจจะหลุดลอดไปสู่ตลาดหรือลูกค้าได้ง่าย กลายเป็นปัญหาใหญ่ต้องเรียกรถลูกค้ากับมาแก้ไขวุ่นวายกันไปหมด ซึ่ง ณ จุดตรงนี้ เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการผิดพลาดของการผลิตในขบวนการสายการผลิตไม่ให้หลุดลอดออกจากกระบวนการผลิต POKAYOKE จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ได้นำใช้งานหรือติดตั้งในสายงานการผลิตของตนเอง

  แนวคิดพื้นฐานของโพะกะโยะเกะถูกนำเสนอและนำมาใช้ในระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นชื่อ Shigeo Shingo (新郷重雄 しんごう しげお ค.ศ.1909-1990)แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า บะกะโยเกะ (ญี่ปุ่น: バカヨケ BAKAYOKE ?) ซึ่งแปลตรงตัวว่า หลีกเลี่ยงความโง่ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเป็น โพะกะโยะเกะ เพื่อให้ความหมายดูซอฟท์ขึ้น

เมื่อเวลาที่อุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้ก้าวสู่หรือขยายไปในต่างประเทศก็ได้นำหลักการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันความผิดพลาดขยายไปสู่ในต่างประเทศเช่นกัน และคำนี้ก็ได้ขยายวงกว้างไปสู่ต่างประเทศผลที่ได้ก็คือ  POKAYOKE (โพะกะโยะเกะ) เป็นคำที่สามารถสื่อสารกันได้ทั่วไปในวงการอุตสาหกรรมการผลิต ล่ามจึงไม่ต้องแปลคำนี้ว่าเครื่องป้องกันผิดพลาดแต่สามารถพูดทับศัพท์ได้เลย ซึ่งจะเข้าใจได้ง่ายกว่าค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างเข้าใจความหมายของคำว่า POKAYOKE กันมากขึ้นหรือยัง  เราสามารถนำหลักการคิดเรื่อง POKAYOKE ไปประยุกต์ใช้ในงานของเราได้นะคะ เป็นการป้องกันความผิดพลาดในการทำงานของเรา ทำให้งานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

งานของ "ล่ามภาษาญี่ปุ่น"


งานของ "ล่ามภาษาญี่ปุ่น" คือ???

หลายๆ บริษัทที่เป็นบริษัทญี่ปุนจะมีการจ้างเจ้าหน้าที่แปลภาษาไว้คอย Support หรือที่เราเรียกกันว่า ล่าม นั่นเอง แต่บางบริษัทที่คนญี่ปุ่นสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ก็อาจจะไม่ได้ใช้ล่าม แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีล่ามเพื่อให้การสื่อสารระหว่างคนญี่ปุ่นและคนไทยเป็นไปอย่างราบรื่นและเข้าใจตรงกัน เข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอด เพราะบางทีถ้าคุยกันเองกว่าจะเข้าใจก็คงจะต้องใช้เวลานานหรือคุยกันจนเมื่อยมือเลยทีเดียว หรือบางครั้งคุยกันตั้งนานแต่เข้าใจกันไปคนละแบบ ญี่ปุ่นบางคนลงทุนเรียนภาษาไทยเพื่อจะได้สื่อสารกับคนไทยได้ในเรื่องง่ายๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าเป็นเรื่องที่เป็นทางการ หรือเรื่องที่ต้องคุยรายเอียดล่ามเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเข้าไปร่วมด้วย
บางที่มีการจ้างล่ามประจำ บางที่เลือกจะจ้างล่ามฟรีแลนด์มาช่วยในช่วงระยะเวลานึงที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนตัวล่ามเองก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แน่นอนมีบางเรื่องที่ล่ามไม่อาจจะเข้าใจได้อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะทางหรือเจาะลึกแต่ตัวล่ามเองก็ต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ทั้งสองฝ่ายทั้งคนไทยและคนญีปุ่นเข้าใจและทำงานต่อได้อย่างราบรื่น รู้สึกเหมือนเอาเรื่องตัวเองมาเขียนยังก็ไม่รู้ เกริ่นกันมานมนานวันนี้ขอนำเสนอคำว่า ล่าม ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไรไปดูกันค่ะ เผื่อคนญี่ปุ่นให้ไปตามล่ามจะได้เข้าใจ

ล่าม (เจ้าหน้าที่แปลภาษา)

แปลพูด ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ;          通訳(つうやく) tsuuyaku  สึยะคุ

แปลเอกสาร ภาษาญีปุ่นเรียกว่า ;     翻訳(ほんやく)   honyaku   ฮงยะคุ


โดยปกติล่ามประจำในบริษัทจะทำหน้าที่ได้ทั้งสองอย่าง คือ แปลพูดและแปลเอกสาร ส่วนล่ามฟรีแลนด์จะเป็นการจ้างกำนดช่วงเวลาอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นหรือยาวแล้วแต่สัญญาดังนั้นจะหนักไปทางล่ามพูดเสียมากกว่า



ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างประโยคกันบ้างดีกว่า

ช่วยเป็นล่ามแปลให้ตอนประชุมตอนเช้าด้วย

朝礼(ちょうれい)()通訳(つうやく)してください。

Choureitoki ni tsuuyaku shitekudasai.

โชเรโทะคิ นิ สึยะคุชิเตะ คุดะซัย



ช่วยไปเรียกล่ามให้หน่อย

通訳(つうやく)呼んで(よんで)ください。

Tsuuyaku wo yonde kudasai.

สึยะคุ โอะ ย่นเดะ คุดะซัย



ช่วยแปลเอกสาร ISO Audit ให้หน่อย

ISO監査(かんさ)資料(しりょう)翻訳(ほんやく)してください。

ISO Kansashiryo wo honyakushite kudasai.

ไอเอสโอ คังสะชิเรียว โอะ ฮงยะคุชิเตะ คุดะซัย


 ยังไงลองนำไปใช้กันดูนะคะ ^-^

7 Muda คือ??

7 Muda - Seven waste – ความสูญเปล่า 7 ประการ


จากที่เราเคยเรียนเรื่อง 3 MU กันไปแล้ว วันนี้ขอเจาะลึกในเรื่องของ Muda หรือความสูญเปล่า เป็นที่รู้กันดีว่าหลักการนี้มาจากระบบของโตโยต้าหรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า TPS แล้วแต่จะเรียกระบุความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมใว้ 7 ประการคือ



ทีนี้เราลองมาดูรายละเอียดคร่าวๆ ว่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไรบ้าง

1. ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
การผลิตที่มากเกินไป หมายถึง การผลิตสินค้าที่มีปริมาณมากกว่ายอดขาย ตามปกติเหตุผลที่เราผลิตสินค้าก็เพื่อขาย และผลิตแล้วต้องขายให้หมด หากไม่หมด ก็อาจต้องทิ้ง หรือขายออกไปถูกๆ 

2. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transportation Waste)
หมายถึง การเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆในโรงงาน ปัญหานี้เกิดขึ้นหลักๆจากการวางผัง(Layout)โรงงานที่ไม่ดี ทำให้การไหลของชิ้นงานไม่ราบรื่นหรือที่เราเรียกว่าการ  FLOW ของชิ้นงานไม่ดีนั่นเอง

3. ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting Waste)
การผลิตที่ดีควรจะมีความสมดุลของสายการผลิต หรือ line balance ต้องดี ถ้าสายการผลิตไม่ดี วางเครื่องจักรที่ไม่สมดุล วางกำลังคนไม่สมดุล วัถุดิบมาไม่คงที่มีบ้างไม่มีบ้าง จะเกิดปัญหาคอขวด งานจะกองกันในแต่ละที่ กระบวนการหลังๆก็ต้องคอย กระบวนการข้างหน้า จึงเกิดการสูญเปล่าขึ้น จะเข้าต้องดูว่าปัญหาอยู่ที่จุดใหนแล้วเข้าไปแก้ปรับให้เกิดความสมดุล หัวหน้างานถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องหมั่นเอาใจใส่เฝ้าสังเกตการทำงานของลูกน้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผลิตออกมาได้

4. ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับทางด้านวัตถุดิบที่มีมากเกินไปก็เป็นปัญหามาจากการจัดซื้อ หรือการวางแผนการผลิต มีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแล้วไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่หมด ต้องเก็บไว้ เกิดความสูญเปล่า แต่หากเป็นการผลิตที่ไม่ดีก็จะมีงานคงค้างอยู่ในสายการผลิตมากก็ถือเป็น inventory อย่างหนึ่ง จุดสุดท้ายคือสินค้าสำเร็จรูปการที่มีของคงคลังมากเกินไป สินค้าคงคลังในแต่ละจุดที่กล่าวมาถือเป็นความสูญเปล่าอย่างหนึ่ง ทุนจม มีของแต่ขายออกไม่ได้เพราะเกินความต้องการนั่นเอง

5. ความสูญเปล่าจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
หมายถึง การทำงานที่ไม่มีคุณภาพจะทำให้มีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการ   หรือที่เราเรียกกันติดปากว่างาน NG นั่นเอง สาเหตุหลักๆของความไม่มีคุณภาพนั้นมีปัจจัยมาจากคนที่ไม่มีความชำนาญ และไม่มีจิตสำนึกด้านคุณภาพ เครื่องจักรที่ขาดการดูแลมีการเสื่อมสภาพ และวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการควบคุมบริษัทsupplier ที่ดีพอ ไม่มีการตรวจรับเข้าอย่างจริงจัง หรือตรวจเป็นพิธี ปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดของเสียในกระบวนการมากมายที่จะต้องนำกลับไปทำใหม่ หรือ ซ่อม หรือลดเกรดขายถูกๆ หรือไม่ก็ทิ้ง เป็นความสูญเปล่าทั้งสิ้น

6. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
การกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันจะเป็นการลดประสิทธิภาพในการผลิตไปเป็นอย่างมาก ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนไหวของพนักงาน ถึงแม้เครื่องจะเป็นระบบอัติโนมัติแต่บางส่วนก็มีความจำเป็นที่ยังต้องใช้การทำงานของคนอยู่ หากเคลื่อนไหวไม่ถูกต้องก็เกิดความสูญเปล่าขึ้นมาได้

7. ความสูญเปล่าจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)

การมีกระบวนการผผลิตที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดการเสียเวลาในการผลิตงาน ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนเพื่อที่จะปรับปรุงลดกกระบวนการทำงานที่เคยใช้ บางบริษัทเปิดมาเป็นสิบๆปี แต่ไม่เคยมีการปรับกระบวนการให้มีความกระชับ ทำงานงานได้ง่าย กระบวนการเดิมที่เคยทำเมื่อก่อนอาจจะดีแต่เมื่อเวลาผ่านไปมันอาจจะกลับกลายเป็นเยิ่นเย้อ ทำให้ผลงานที่ได้ช้าลง และเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่ายก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะหยุดคิดปรับแก้ไขเด็ดขาด หรือที่เราเรียกว่า ไคเซ็น KAIZEN นั่นเอง

กิจกรรม CCCF

กิจกรรม CCCF คืออะไร??

      บริษัทหรือองค์กรที่ดีโดยเฉพาะส่วนที่เป็นโรงงานผลิตเขาจะเน้นเรื่องความปลอดภัยและ5ส เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานที่สำคัญ ใครที่อยู่บริษัทญี่ปุ่นมักจะได้ยินคำว่า Safety First บ่อยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการอบรมให้พนักงานทุกคนตระหนักและมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน บริษัทจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็ต้องมีพนักงานช่วยกันขับเคลื่อนไปข้างหน้าภายใต้การทำงานที่ปลอดภัยและผลิตงานออกมาอย่างมีคุณภาพ และกิจกรรมเกี่ยวกับกับความปลอดภัยที่จะเอามาแนะนำในวันนี้ก็ คือ กิจกรรม CCCF คนที่ทำงานด้านความปลอดภัยคงจะคุ้นกันเลยทีเดียว แล้วกิจกรรมนี้มันคืออะไร? มีที่มาอย่างไร? เราไปทำความรู้จักพร้อมๆ กันเลยค่ะ

กิจกรรม CCCF คือ...

      กิจกรรมการค้นหา และ ประเมินอันตราย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Completely Check Completely Find Out  หรือที่เราย่อๆ “ CCCF ” ACTIVITY (กิจกรรม CCCF) เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้น เพื่อรณรงค์ด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคน โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น, ค้นหาอันตราย และประเมินอันตรายจากงานและสถานที่ทำงานของตนเองโดยใช้หลัก 3GEN (หลัก 3 จริง หน้างานจริง ของจริง  สภาพการณ์จริง) เข้ามาช่วยค้นหาหรือถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ การเข้าไปสังเกตที่หน้างานจริง และช่วยกันปรับปรุงแก้ไขให้อันตรายเหล่านั้นหมดไป ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ถูกกำหนดและให้ปฏิบัติภายใต้นโยบายการบริหารงานของบริษัทโตโยต้า บริษัทที่มีค้าขายทำธุรกิจกับบริษัทโตโยต้าจะต้องทำกิจกรรมนี้ และต้องรายงานผลจากการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการประเมินบริษัทคู่ค้า (SUPPLIER) ทั่วประเทศ  จริงๆแล้ววัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมนี้ คือ ต้องการให้พนักงานทุกคนสามารถมองอันตรายที่หน้างานออกหรือที่บางบริษัทเรียกว่า KY หรือ KYT เป็นการหยั่งรู้อันตราย รู้ได้ว่าการกระทำใดหรือสภาพแวดล้อมของสิ่งใดคือสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ควรปรับปรุง ไม่ใช่รอให้หัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมาบอกกล่าวถึงจะทำ เป็นอย่างไรบ้างคะเข้าใจความหมายของ CCCF กันดีหรือยัง ขอเพิ่มเติมอีกนิดแล้วกันไหนก็พูดถึง KYT กันแล้วขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดแล้วกัน KYT ย่อมาจาก Kiken Yoshi Training  

     KYT หมายถึง การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT มีวัตถุประสงค์ในการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ในการทำงาน การเตือนตนเองก่อนลงมือปฏิบัติงาน การค้นหาอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่ในการทำงาน รวมถึงหาวิธีการป้องกันตนเอง เพื่อลดอันตรายหรืออุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์
หลังจากที่เรารู้จักความหมายของกิจกรรมนี้ไปแล้ว ทีนี้เรามาเรียนคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกันบ้างดีกว่าค่ะ
กิจกรรม  CCCF
Completely Check Completely Find-Out
完全な確認と完全な原因の洗い出し
(かんぜんなかくにんとかんぜんなげんいんのあらいだし)
Kanzenna kakunin to kanzenna genin no araidashi
คังเซ็นนะคะคุนิง โตะ คังเซ็นนะ เก็งอิง โนะ อะรัยดะชิ


KY / KYT การหยั่งรู้อันตราย
危険予知訓練(きけんよちくんれん)
Kiken Yochi Kunren
คิเค็ง โยจิ คุงเร็น

 

..@^_^@..