日本(冬)

日本(冬)

7 Muda คือ??

7 Muda - Seven waste – ความสูญเปล่า 7 ประการ


จากที่เราเคยเรียนเรื่อง 3 MU กันไปแล้ว วันนี้ขอเจาะลึกในเรื่องของ Muda หรือความสูญเปล่า เป็นที่รู้กันดีว่าหลักการนี้มาจากระบบของโตโยต้าหรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า TPS แล้วแต่จะเรียกระบุความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมใว้ 7 ประการคือ



ทีนี้เราลองมาดูรายละเอียดคร่าวๆ ว่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไรบ้าง

1. ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
การผลิตที่มากเกินไป หมายถึง การผลิตสินค้าที่มีปริมาณมากกว่ายอดขาย ตามปกติเหตุผลที่เราผลิตสินค้าก็เพื่อขาย และผลิตแล้วต้องขายให้หมด หากไม่หมด ก็อาจต้องทิ้ง หรือขายออกไปถูกๆ 

2. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transportation Waste)
หมายถึง การเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆในโรงงาน ปัญหานี้เกิดขึ้นหลักๆจากการวางผัง(Layout)โรงงานที่ไม่ดี ทำให้การไหลของชิ้นงานไม่ราบรื่นหรือที่เราเรียกว่าการ  FLOW ของชิ้นงานไม่ดีนั่นเอง

3. ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting Waste)
การผลิตที่ดีควรจะมีความสมดุลของสายการผลิต หรือ line balance ต้องดี ถ้าสายการผลิตไม่ดี วางเครื่องจักรที่ไม่สมดุล วางกำลังคนไม่สมดุล วัถุดิบมาไม่คงที่มีบ้างไม่มีบ้าง จะเกิดปัญหาคอขวด งานจะกองกันในแต่ละที่ กระบวนการหลังๆก็ต้องคอย กระบวนการข้างหน้า จึงเกิดการสูญเปล่าขึ้น จะเข้าต้องดูว่าปัญหาอยู่ที่จุดใหนแล้วเข้าไปแก้ปรับให้เกิดความสมดุล หัวหน้างานถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องหมั่นเอาใจใส่เฝ้าสังเกตการทำงานของลูกน้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผลิตออกมาได้

4. ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับทางด้านวัตถุดิบที่มีมากเกินไปก็เป็นปัญหามาจากการจัดซื้อ หรือการวางแผนการผลิต มีการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแล้วไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่หมด ต้องเก็บไว้ เกิดความสูญเปล่า แต่หากเป็นการผลิตที่ไม่ดีก็จะมีงานคงค้างอยู่ในสายการผลิตมากก็ถือเป็น inventory อย่างหนึ่ง จุดสุดท้ายคือสินค้าสำเร็จรูปการที่มีของคงคลังมากเกินไป สินค้าคงคลังในแต่ละจุดที่กล่าวมาถือเป็นความสูญเปล่าอย่างหนึ่ง ทุนจม มีของแต่ขายออกไม่ได้เพราะเกินความต้องการนั่นเอง

5. ความสูญเปล่าจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
หมายถึง การทำงานที่ไม่มีคุณภาพจะทำให้มีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการ   หรือที่เราเรียกกันติดปากว่างาน NG นั่นเอง สาเหตุหลักๆของความไม่มีคุณภาพนั้นมีปัจจัยมาจากคนที่ไม่มีความชำนาญ และไม่มีจิตสำนึกด้านคุณภาพ เครื่องจักรที่ขาดการดูแลมีการเสื่อมสภาพ และวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการควบคุมบริษัทsupplier ที่ดีพอ ไม่มีการตรวจรับเข้าอย่างจริงจัง หรือตรวจเป็นพิธี ปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดของเสียในกระบวนการมากมายที่จะต้องนำกลับไปทำใหม่ หรือ ซ่อม หรือลดเกรดขายถูกๆ หรือไม่ก็ทิ้ง เป็นความสูญเปล่าทั้งสิ้น

6. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
การกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันจะเป็นการลดประสิทธิภาพในการผลิตไปเป็นอย่างมาก ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนไหวของพนักงาน ถึงแม้เครื่องจะเป็นระบบอัติโนมัติแต่บางส่วนก็มีความจำเป็นที่ยังต้องใช้การทำงานของคนอยู่ หากเคลื่อนไหวไม่ถูกต้องก็เกิดความสูญเปล่าขึ้นมาได้

7. ความสูญเปล่าจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)

การมีกระบวนการผผลิตที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดการเสียเวลาในการผลิตงาน ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนเพื่อที่จะปรับปรุงลดกกระบวนการทำงานที่เคยใช้ บางบริษัทเปิดมาเป็นสิบๆปี แต่ไม่เคยมีการปรับกระบวนการให้มีความกระชับ ทำงานงานได้ง่าย กระบวนการเดิมที่เคยทำเมื่อก่อนอาจจะดีแต่เมื่อเวลาผ่านไปมันอาจจะกลับกลายเป็นเยิ่นเย้อ ทำให้ผลงานที่ได้ช้าลง และเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่ายก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะหยุดคิดปรับแก้ไขเด็ดขาด หรือที่เราเรียกว่า ไคเซ็น KAIZEN นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น