日本(冬)

日本(冬)

กิจกรรม QCC คืออะไร



กิจกรรม QCC

กิจกรรมยอดฮิตอีกหนึ่งกิจกรรมที่บริษัทญี่ปุ่นจัดขึ้นมาทุกปีคงจะหนีไม่พ้นกิจกรรม QCC แน่นอน หลายๆ คนที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นคงเคยผ่านการทำกิจกรรมนี้กันกันมาบ้างแล้ว บางคนอาจจะเป็นโปรด้านกิจกรรมนี้เลยก็ว่าได้ มีการจัดการประกวดภายในบริษัท ทีมที่ชนะเลิศก็จะได้รางวัล บางบริษัทส่งไปประกวดที่ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ก็มีส่งไปบ่อยๆ บางทีมมุ่งมั่นเต็มที่เวลาที่ Present จัดเต็มล่ามแปลแทบไม่ทัน บางคนตื่นเต้นมากมือสั่น Pointer ก็เลยพลอยสั่นไปด้วยก็มี จากที่เคยเป็นล่ามในการแปลกิจกรรมนี้อยู่บ่อยครั้ง ทำให้รู้สึกว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์อีกกิจกรรมหนึ่งทีเดียว


แต่ถ้าใครที่ยังไม่รู้จักกิจกรรมนี้ เรามาทำความรู้จักพร้อมๆ กันเลย


Q.C.C. ย่อมาจากคำว่า Quality Control Circle หมายถึง กิจกรรมที่พนักงานในกลุ่มจัดตั้งขึ้นมาโดยความสมัครใจ เป็นกิจกรรมที่ทุกคนได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานหรือกระบวนการให้มีประสิทธิภาพและทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมนี้จะคล้ายกิจกรรม KAIZEN ที่เคยอธิบายไปก่อนหน้านี้


คำว่า Q.C.C. ประกอบไปด้วยคำ 3 คำที่มีความหมาย ดังนี้

·         Q คือ Quality หมายถึง คุณภาพใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ คุณภาพงาน คุณภาพชีวิต และ คุณภาพสิ่งแวดล้อม

·         C คือ Control หมายถึง การควบคุมหรือการกระทำ ให้คุณภาพทั้ง 3 ข้างต้นอยู่ในระดับที่ต้องการ หรือ ในระดับมาตรฐานที่ดี

·         C คือ Circle หมายถึง วงจรควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และยังหมายถึงวงจรเดมมิ่งอันประกอบด้วย P.D.C.A. ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check, Action (ซึ่งจะมีการอธิบายในบทความถัดไปค่ะ)


แล้วทำไมต้องทำกิจกรรม QCC ด้วยล่ะ
กิจกรรม QCC มุ่งแก้ไขปัญหาการทำงานลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ โดยการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงออกและพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานซึ่งเกิดขึ้นจากพนักงานตั้งแต่ระดับล่างขึ้นมาจนถึงระดับบน ทำให้เกิดความสามัคคี อีกทั้งยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นอีกด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เห็นข้อดีที่เกิดขึ้นมากมายจากการทำกิจกรรมนี้ สุดยอดเลยใช่มั้ยล่ะคะ


 


หลังจากที่ทำความรู้จักกับกิจกรรมนี้ไปแล้ว ทีนี้เรามาเรียนภาษาญี่ปุ่นจากกิจกรรม QCC กันดีกว่าค่ะ จะหยิบยกคำศัพท์ที่น่าสนใจมาบางส่วนนะคะ


คำศัพท์
ภาษาญี่ปุ่น
คำอ่านโรมันจิ
คำอ่านภาษาไทย
กิจกรรม QCC
QCサークル
QC saakuru
QC ซาคุรุ

ขั้นตอนการทำ QCC (QC Story

QCストーリー
QC sutoorii
QC สุโทรี่
ค้นหาปัญหาและเลือกหัวข้อ
テーマ選定(せんてい)
Teema sentei
เทม่า เซ็นเท
กำหนดเป้าหมาย
目標設定(もくひょうせってい)
Mokuhyou settei
โมะคุเฮียว เสร็ดเท
สำรวจสภาพปัจจุบัน
現状把握(げんじょうはあく)
Genjou haaku
เก็งโจ ฮะอะคุ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและพิสูจน์
要因(よういん)解析(かいせき)検証(けんしょう)
Yoin no kaiseki to kenshou
โยอิง โนะ ไคเซะคิ โตะ เค็งชู
วางมาตรการแก้ไข
対策(たいさく)検討(けんとう)
Taisaku no kentou
ไทซาคุ โนะ เค็งโท
ลงมือปฏิบัติตามมาตรการแก้ไข
対策(たいさく)実施(じっし)
Taisaku no jisshi
ไทซาคุ โนะ จิสชิ
กำหนดเป็นมาตรฐาน
標準化(ひょうじゅんか)
hyoujunka
เฮียวจุงขะ
ตรวจสอบสรุปผล
効果(こうか)確認(かくにん)
Kouka no kakunin
โคขะ โนะ คะคุนิง
พิจารณาทบทวนกิจกรรม
活動(かつどう)反省(はんせい)
Katsudou no hansei
คะสึโด โนะ ฮังเซ
วางแผนทำกิจกรรมเรื่องต่อไป
今後(こんご)課題(かだい)
Kongo no kadai
คงโกะ โนะ คะได

 

 และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำ QCC คือ เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ( 7 QC Tools) มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ


คำศัพท์
ภาษาญี่ปุ่น
คำอ่านโรมันจิ
คำอ่านภาษาไทย

เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด

( 7 QC Tools)

QC(なな)道具(どうぐ)

QC nanatsu dougu

คิวซี นะนะสึ โดงุ

แผ่นตรวจสอบ

(Check Sheet)

チェックシート

Chekku shiito

เช็คคุ ชีสโตะ

แผนผังพาเรโต

(Pareto Diagram)

パレート()

Pareeto zu

พะเรโตะ ซุ

การจำแนกข้อมูลและกราฟ

(Stratification and Graph)

グラフと層別(そうべつ)

Gurafu soubetsu

กุระฟุ โตะ โซเบะสึ

แผนผังแสดงเหตุและผลหรือที่เรียกกันว่าแผนภูมิก้างปลา

(Cause & Effect Diagram)

特性要因図 (とくせいよういんず)

tokuseiyouinzu

โทะคุเซ โยอิงซุ

แผนผังการกระจาย

(Scatter Diagram)

散布図(さんぷず)

sappuzu

ซัมบุซุ

แผนภูมิควบคุม

(Control Chart)

管理図(かんりず)

kanrizu

คังริซุ

ฮิสโตแกรม

(Histogram)

ヒストグラム

hisutoguramu

ฮิสุโตะกุระมุ


......คราวหน้าจะนำเสนอเรื่องอะไรอย่าลืมติดตามกันนะคะ......



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น