日本(冬)

日本(冬)

รู้จักวงล้อ PCDA กันไหม่เอ่ย?



วงล้อ PCDA


       จากที่เคยพูดถึงไว้ในบทความ QCC วันนี้จะนำเสนออีกหนึ่งเครื่องมือที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการทำงาน ซึ่งจะทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้นชึ่งวงล้อ PDCA  เราเรียกเป็นภาษาไทยว่า วงจรควบคุมคุณภาพ  ซึ่งตัวอักษร PCDA เป็นอักษรตัวแรกที่มาจาก PLAN – DO – CHECK – ACTION  ทีนี่เรามาดูกันว่าความหมายและภาษาญี่ปุ่นของแต่ละคำว่าเขาเรียกว่าอะไร 
 


  • Plan  (วางแผน)
計画(けいかく) keikaku  เคคะคุ
  
คือ การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบรัดกุม ครอบคลุมไปถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

  • Do (ปฏิบัติตามแผน)

実施(じっし) jisshi  จิตชิ การดำเนินการ実行(じっこう)   jikkou   จิดโค การลงมือปฏิบัติจริง
คือ การดำเนินการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

  • Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน)

点検(てんけん) tenken เทงเค็ง การตรวจสอบ評価(ひょうか)  hyouka เฮียวขะ การประเมิน
คือ การตรวจสอบหรือการประเมินว่าเราสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่

  • Action (ปรับปรุงแก้ไข)
処置(しょち) shochi  โชะจิ   การจัดการ改善(かいぜん)  kaizen  ไคเซ็น การปรับปรุงแก้ไข
คือ การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน เป็นการนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีขั้นตอนการ   ปฏิบัติงานใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
ถ้าเราสามารถปฏิบัติงานโดยนำหลักการข้างต้นมาใช้จะทำให้งานของเรานั้นมีคุณภาพ ผลลัพธ์ที่ได้มีความชัดเจน อีกทั้งยังเชื่อมโยงไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนวงล้อที่หมุนไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพนั่นเอง



ก่อนที่จะจบบทความนี้ ขอกล่าวถึงที่มาของวงล้อ PDCA สักนิด

 PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle)
ดร.เดมมิ่ง  ได้นำวงจรของ Walter A. Shewhart มาปรับปรุงและอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม ซึ่ง Walter A.Shewhart  เขียนเกี่ยวกับ Shewhart Cycle  ไว้ในหนังสือของเขาในปี  ค.ศ.1939 โดยที่เดมมิ่งเรียกวงจรนี้ว่า Walter A. Shewhart หรือ PDSA  Cycle ส่วนในประเทศญี่ปุ่นรู้จักกันในนาม  Deming  Cycle และคนทั่วไปนิยมเรียกว่า  PDCA  cycle  นั่นเอง

 
 ............................................................




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น