มาต่อกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันต่อเลย
ในวันที่ 31 เดือนธันวาคม ที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า
大晦日(おおみそか) Oomisoka โอมิโซกะ แปลว่า วันสิ้นปี
เป็นวันที่สำคัญของคนญี่ปุ่น และจะมีการกิน
年越しそばToshikoshi-soba โซบะข้ามปี
เป็นประเพณีที่เริ่มมาตั้งแต่ในสมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า กินโซบะในวันนี้เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว เหมือนกับเส้นโซบะ
และอีกประเพณีหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ตามศาลเจ้า หรือ วัดชินโตที่ใหญ่ๆ ก็จะแน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่มีมาร่วมฟังการตีระฆังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่หรือที่เรียกว่า
除夜(じょや)の鐘(かね) Joya
no kane โจยะโนะคะเนะ การตีระฆังจำนวน 108 ครั้ง
เมื่อเข้าสู่ปีใหม่ คนญี่ปุ่นเขามีกิจกรรมอะไรกันไปติดตามกันต่อเลย
กิจกรรมแรก คือ การชมพระอาทิตย์แรกของปี
เราเรียกภาษาญี่ปุ่นว่า
初日の出 Hatsuhi
no de ฮะสึฮิ โนะ เดะ
กิจกรรมถัดไป คือ
初詣でHatsu Moude
ฮะสึ โมเดะ
การไปวัดหรือศาลเจ้าในวันปีใหม่
นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งในช่วงปีใหม่
正月飾りShogatsu Kazari โชกะสึ คะซะริ
คนญี่ปุ่นประดับหน้าบ้านช่วงปี
ใหม่เพื่อต้อนรับเทพเจ้าทางชินโต
เชื่อกันว่าเทพเจ้าจะมาสถิตยังที่ที่มีต้นไม้หรือพืชพรรณ
การประดับก็มีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป
松飾Matsu-Kazari มะสึ คะซะริ ต้นสนที่ใช้ประดับในช่วงปีใหม่ ใช้ใบสนมาทำเป็นของประดับตกแต่งสำหรับแขวนไว้หน้าบ้าน
門松Kadomatsu คะโดะมะสึ ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน
เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตรวดเร็วและซื่อตรง
ในตอนเช้าของวันปีใหม่ ทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันพร้อมหน้า เพื่อรับประทานอาหารมื้อแรกของปีใหม่ร่วมกัน ซึ่งจะประกอบด้วย
お雑煮 おぞうに Osouni โอะโซนิ
หรือซุปโมจิ
ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นพิเศษสำหรับปีใหม่โดยเฉพาะ
おせち料理 : おせちりょうり Osechi –ryouri โอเซะจิเรียวริ
เป็นอาหารปีใหม่ตามประเพณี
ซึ่งเป็นอาหารที่เก็บได้นาน เป็นการจัดเตรียมอาหารหลากหลายชนิด
และจัดวางไว้อย่างสวยงามภาชนะเครื่องเขิน เช่น ปลาย่าง ไข่ปลา กุ้ง สาหร่าย
ถั่วดำเชื่อม หัวไชเท้ากับแครอทดอง เป็นต้น นิยมทานกันเป็นเวลา 3 วัน แรกของปีใหม่
และในวันปีใหม่นี้ก็เป็นวันที่เด็กๆ
ต่างรอคอยเพื่อที่จะรับเงินปีใหม่ ซึ่งเรียกว่า
お年玉 おとしだま Otoshidama โอโทชิดะมะ
จากพ่อเม่ หรือญาติผู้ใหญ่
สวัสดีปีใหม่
あけまして おめでとうございます
akemashite omedetou
gozaimasu
อะเคะมะชิเตะ
โอะเมะเดะโต โกะไซมัส
ปีนี้ก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/คะ
kotoshi mo yoroshiku
onegai shimasu.
โคะโทะชิ
โมะ โยะโระชิคุ โอะเนะไง ชิมัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น