日本(冬)

日本(冬)

กิจกรรมในเดือนธันวาคมและปีใหม่ของคนญี่ปุ่น ตอนจบ

มาต่อกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันต่อเลย




ในวันที่ 31 เดือนธันวาคม ที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า


大晦日(おおみそか) Oomisoka โอมิโซกะ แปลว่า วันสิ้นปี  

เป็นวันที่สำคัญของคนญี่ปุ่น และจะมีการกิน


年越しそばToshikoshi-soba  โซบะข้ามปี 


 

     เป็นประเพณีที่เริ่มมาตั้งแต่ในสมัยเอโดะ คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า กินโซบะในวันนี้เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว เหมือนกับเส้นโซบะ



และอีกประเพณีหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ตามศาลเจ้า หรือ วัดชินโตที่ใหญ่ๆ ก็จะแน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่มีมาร่วมฟังการตีระฆังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่หรือที่เรียกว่า

 除夜(じょや)の鐘(かね) Joya no kane โจยะโนะคะเนะ การตีระฆังจำนวน 108 ครั้ง 
 
     ตามประเพณีโบราณของญี่ปุ่นพระจะผลัดกันตีระฆังจำนวน 108 ครั้ง มีวัดหลายแห่งเปิดโอกาสให้คนทั่วไปตีระฆังในวัดได้ ถือเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย 108 อย่างที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ เมื่อตีครบ 108 ครั้ง ก็จะถือว่ากิเลสตัณหา ความอยากได้ความโลภต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวได้ถูกชำระออกไป พร้อมที่จะต้อนรับวันใหม่ ปีใหม่ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์




       เมื่อเข้าสู่ปีใหม่ คนญี่ปุ่นเขามีกิจกรรมอะไรกันไปติดตามกันต่อเลย 
กิจกรรมแรก คือ การชมพระอาทิตย์แรกของปี
เราเรียกภาษาญี่ปุ่นว่า 

初日(はつひ)() Hatsuhi no de ฮะสึฮิ โนะ เดะ

     คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า การชมพระอาทิตย์แรกของปี คือ วันที่  1 มกราคม จะอธิฐานให้ครอบครัวมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงตลอดปี  บางครอบครัวไปขึ้นภูเขาไปชมเลยก็มี บางครอบครัวก็ไปทะเล แล้วแต่ว่าใครจะสะดวกที่ไหน
กิจกรรมถัดไป คือ  

初詣(はつもうで)Hatsu Moude  ฮะสึ โมเดะ  การไปวัดหรือศาลเจ้าในวันปีใหม่
 
      โดยปกติคนญี่ปุ่นจะไม่ได้ไปวัดหรือศาลเจ้า ไม่เหมือนบ้านเราที่เข้าวัดทำบุญกันทุกวันพระ แต่ในช่วงปีใหม่คนญี่ปุ่นจะพากันไปไหว้ขอพรกัน ผู้หญิงก็พากันแต่งกิโมโนสวยๆ มีบรรยากาศของปีใหม่แบบญี่ปุ่น


     นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งในช่วงปีใหม่ 
 正月飾(しょうがつかざ)Shogatsu Kazari โชกะสึ คะซะริ
 คนญี่ปุ่นประดับหน้าบ้านช่วงปี ใหม่เพื่อต้อนรับเทพเจ้าทางชินโต เชื่อกันว่าเทพเจ้าจะมาสถิตยังที่ที่มีต้นไม้หรือพืชพรรณ การประดับก็มีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป
 
松飾(まつかざり)Matsu-Kazari  มะสึ คะซะริ ต้นสนที่ใช้ประดับในช่วงปีใหม่ ใช้ใบสนมาทำเป็นของประดับตกแต่งสำหรับแขวนไว้หน้าบ้าน 

 
門松Kadomatsu คะโดะมะสึ ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตรวดเร็วและซื่อตรง

  และที่ขาดไม่ได้ คือ อาหารในช่วงปีใหม่
ในตอนเช้าของวันปีใหม่ ทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันพร้อมหน้า เพื่อรับประทานอาหารมื้อแรกของปีใหม่ร่วมกัน ซึ่งจะประกอบด้วย
お雑煮  おぞうに Osouni โอะโซนิ หรือซุปโมจิ 
ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นพิเศษสำหรับปีใหม่โดยเฉพาะ
おせち料理 : おせちりょうり Osechi –ryouri โอเซะจิเรียวริ 
 
เป็นอาหารปีใหม่ตามประเพณี ซึ่งเป็นอาหารที่เก็บได้นาน เป็นการจัดเตรียมอาหารหลากหลายชนิด และจัดวางไว้อย่างสวยงามภาชนะเครื่องเขิน เช่น ปลาย่าง ไข่ปลา กุ้ง สาหร่าย ถั่วดำเชื่อม หัวไชเท้ากับแครอทดอง เป็นต้น นิยมทานกันเป็นเวลา 3 วัน แรกของปีใหม่
และในวันปีใหม่นี้ก็เป็นวันที่เด็กๆ ต่างรอคอยเพื่อที่จะรับเงินปีใหม่ ซึ่งเรียกว่า  

お年玉  おとしだま Otoshidama โอโทชิดะมะ จากพ่อเม่ หรือญาติผู้ใหญ่  

   
เป็นไงบ้างคะกับวัฒนธรรม ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของคนญี่ปุ่น  ก่อนจบบทนี้ ขอทิ้งท้ายการกล่าวสวัสดีปีใหม่ของคนญี่ปุ่นแล้วกัน เผื่อใครจะใช้ทักทายคนญี่ปุ่นช่วงปีใหม่


สวัสดีปีใหม่

あけまして おめでとうございます

akemashite omedetou gozaimasu

อะเคะมะชิเตะ โอะเมะเดะโต โกะไซมัส

ปีนี้ก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ/คะ

今年(ことし)もよろしくお(ねが)いします。

kotoshi mo yoroshiku onegai shimasu.

โคะโทะชิ โมะ โยะโระชิคุ โอะเนะไง ชิมัส